Telecom & Innovation Journal TIJ 1043 | Page 2

TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม - วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559
2 Cover Story
TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม - วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศขณะทรงงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งวิทยุสื่อสารไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งวิทยุสื่อสารไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ผู ้ทรงมีสายพระเนตร ที่ยาวไกลในด้านของเทคโนโลยี จากการน�ำภูมิปัญญาความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่างๆ จากทุกแขนงมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ความผาสุกของพสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอ และนั่นจึงท�ำให้พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย ” เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม พ . ศ . 2543 และก�ำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันเทคโนโลยีของไทย

1

ส�ำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ICT นั ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวในพระบรม โกศทรงเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอดว่าเป็นปัจจัย ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาท ที่ทรงมีพระราชด�ำรัสถึงการสื่อสาร อยู่บ่อยครั้ง เช่น

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเนื่องในโอกาสครบรอบสถาปนา 100 ปี กรมไปรษณีย์โทรเลข และวันสื่อสารแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ . ศ . 2526 ณ พระ ต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน มีใจความว่า “ การสื่อสารเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนา สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคง และความปลอดภัยด้วย ยิ่งในสมัย ปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลง อยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความส�ำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี ่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรได้มีความร่วมมือกันด�ำเนินงาน และประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้องส�ำคัญ ที่สุด ควรได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการ และเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้ว พิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นนอน มาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่มให้พอเหมาะ กับฐานะและสภาพของบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสาร ของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็ม ที่และสามารถอ�ำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้ อย่างสมบูณ์แท้จริง ” 2

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงแสดงถึงพระอัจฉริยะภาพในด้านของการสื่อสารตั้งแต่เมื่อครั้งยัง ทรงพระเยาว์ โดยพระองค์ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับล�ำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วน พระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ ‘ Centrum ’ จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการ

เสียงตามสายไม่น้อย 3

นอกจากนี้ Facebook ในหลวงนักพัฒนาคู่ฟ้า ICT ได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้านวิทยุ กระจายเสียงของพระองค์ว่า พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ . ส . ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อ สถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงน�ำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศ ครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ . ส . เข้าไปตั้งในบริเวณพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งพระองค์ ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ . ส . เพื ่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับ พระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน และทรงใช้สถานี วิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน 4 และนั่นคือที่มาของเรื ่องราวแห่ง พระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวไทย ผ่านทางพระสุรเสียงของพระองค์ภายใต้พระนาม สัญญาณเรียกขาน VR009

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เนื่องในโอกาสครบรอบสถาปนา 100 ปี กรม ไปรษณีย์โทรเลข และวันสื่อสารแห่งชาติ เมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม พ . ศ . 2526 ณ พระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐาน

1 www . เรารักพระเจ้าอยู่หัว . com / content / index . php ? page = category & type = view & cat = 58 2 หนังสือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา มหาราชา 3 สุชาติ เผือกสกนธ์ , วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530 4 https :// www . facebook . com / permalink . php ? story _ fbid = 245415632213315 & id = 245393092215569 & substory _ index = 1

ส . ค . ส . พระราชทาน ที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์