Telecom & Innovation Journal 1041 | Page 13

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL Telecom Library
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL Telecom Library
13

ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยง ในการใช้งานระบบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นจากการท�ำธุรกรรมบนเครือข่ายออนไลน์ ประเด็นด้านความ เชื่อมั่นในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของระบบกับการคุ ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล( Data Privacy) อาทิ รูปแบบพฤติกรรมการจับจ่าย ใช้สอยของผู้ใช้บริการที่อาจถูกแสวงหาประโยชน์ทางอ้อมจาก บุคคลที่สาม และการโจมตีจากผู ้ไม่ประสงค์ดีต่อเครือข่ายการให้บริการ เนื่องจากรูปแบบโครงสร้างการให้บริการพร้อมเพย์ ยังเป็นการให้ บริการธุรกรรมออนไลน์ในรูปแบบเดิมในลักษณะรวมศูนย์ คือข้อมูล การท�ำธุรกรรมนั้น จะเดินทางผ่านเข้าสู ่ระบบศูนย์กลางการประมวลผล ที่เริ่มจากการด�ำเนินการผ่านธนาคารต้นทางของผู้ใช้บริการ ไปยัง ระบบกลางที่ให้บริการแลกเปลี่ยนธุรกรรมระหว่างธนาคาร หรือ ITMX และส่งต่อไปยังธนาคารปลายทาง คล้ายกับรูปแบบของ เอทีเอ็มพูลในปัจจุบัน ถ้าระบบหรือเครือข่ายดังกล่าวโดนโจมตี ก็ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้ และเป็นภาระในการ ติดตามหาผู้กระท�ำผิดมาด�ำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

บล็อกเชน( Blockchain) เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ด้านความปลอดภัยบนโลกออนไลน์

ด้วยกระแสความนิยมของกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินหน้าใหม่ที่ ไม่ใช่ผู ้ประกอบการธนาคาร ที่รู ้จักกันดีในชื่อ FinTech หรือ Financial Technology( รายละเอียดเพิ่มเติมจากลิงค์: ลุ้นให้เกิด FINTECH อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมไทย) ได้น�ำเสนอ เทคโนโลยีที่เรียกว่า“ บล็อกเชน” ที่เป็นการน�ำระบบการบริหารจัดการ ฐานข้อมูลแบบกระจาย( Distributed Database) มาให้บริการร่วม ประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการปฏิวัติระบบการ ประมวลผลการบริหารจัดการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์แบบ ดั้งเดิมหรือ Centralized Management ซึ่งง่ายต่อการถูกใช้เป็น เป้าโจมตีส�ำหรับผู้ไม่หวังดี เทคโนโลยีบล็อกเชนถือเป็นนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนเบื้องหลังความส�ำเร็จของสกุลเงินดิจิตอล( Digital Currency) อันยิ่งใหญ่ของโลกคือ“ บิทคอยน์”( Bitcoin) เป็น Cryptocurrency ที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน โดยกระบวนการ ของบล็อกเชนนี้ จะท�ำหน้าที่เป็นตัวกลางการจัดการการประมวลผล ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ ทั้งระบบ

ฐานข้อมูล การยืนยันตัวตน การเข้า-ถอดรหัส บัญชีธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ไปยังโหนดต่างๆ( Node) ที่มีกระจายมากมายอยู ่ทั่วโลก โดยแต่ละโหนดจะมีส�ำเนาสมุดบัญชีแยกประเภท( Ledger) หรือ กลุ ่มของชุดธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้น และจะถูกคัดลอก-ปรับปรุง ข้อมูลแบบเวลาจริงหรือ Real Time ท�ำให้ยากต่อการเปลี่ยนแปลง และยากต่อการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีในเวลาเดียวกัน กลุ่มของ ธุรกรรมของบัญชีแยกประเภทในแต่ละโหนดที่เกิดขึ้นนี ้จะถูกเก็บใน รูปแบบของกล่องหรือ Block เรียงต่อๆ กันไป( การเรียงของกล่อง ต่อๆ กันไปจะเรียกว่าการเรียงตัวแบบลูกโซ่หรือ Chain) ซึ่งในส่วน ท้ายของแต่ละกล่องนั้นจะถูกเข้ารหัสผ่านกระบวนการ“ แฮช”( Hash) หรือการสร้างข้อมูลแทนตัว เพื่อไว้อ้างอิงความสัมพันธ์ที่ ต่อเนื่องกับกล่องของข้อมูลก่อนหน้ากันด้วยนั่นเอง เพื่อเป็นการ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียงตัวของกล่องไปในตัว( Blockchain) ดังนั ้นในระบบจะไม่มีใครเป็นเจ้าของการประมวลผลข้อมูลธุรกรรม ทางการเงินออนไลน์อย่างแท้จริง อีกทั้งยังไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่าง ธนาคารอีกด้วย และเมื่อมีใครพยายามที่จะแก้ไขข้อมูลธุรกรรม ทางการเงินที่อยู ่ในกล่องดังกล่าว ก็จะท�ำให้ข้อมูลรายการสมุดบัญชี เฉพาะกล่องที่ถูกแก้ไขนั้นเปลี่ยนไป เมื ่อระบบได้ท�ำการทวนสอบ กับกล่องในโหนดอื่น ๆ แล้วไม่ถูกต้อง ก็จะพบทันทีว่า ข้อมูลรายการนั้นๆ มีการแก้ไขหรืออาจเป็นรายการธุรกรรมปลอมนั่นเอง

จากการน�ำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้งานในด้านการจัดการ ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์จะเห็นได้ว่า มีความปลอดภัยสูง และ ยากต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน( ซึ่งการแก้ไขต้องใช้ทั้งเวลาและพลังการประมวลผลที่สูงมาก เนื่องจากจะต้องค้นหาและแก้ข้อมูลธุรกรรมในกล่องตั้งแต่กล่อง แรกเรียงต่อกันไปจนถึงชุดข้อมูลเป้าหมาย และจะต้องด�ำเนินการ แก้ไขกับโหนดอื่น ๆ ด้วย) จึงเป็นโอกาสอันดีที่เทคโนโลยีนี้จะถูกน�ำ ไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างในอุตสาหกรรมอื่นในอนาคตอันใกล้ต่อจากนี้ อาทิ อุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ เป็นต้น( ในยุคที่ 2 – Blockchain 2.0) นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้งานด้านความปลอดภัยของข้อมูล และการด�ำเนินธุรกรรมออนไลน์ส�ำหรับอุตสาหกรรมการเงินการ ธนาคารที่เริ่มมีให้ใช้งานจริงแล้วในภาคธุรกิจ

เกี่ยวกับผู้เขียน ผู้อ�ำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาในสายงานกลยุทธ์และธุรกิจไอซีที- Detecon( Thailand) ผู้เขียนมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนมากว่า 16 ปี โดยมีความเชี่ยวชาญใน การวิเคราะห์ การคาดการณ์เทคโนโลยีในภาคธุรกิจ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาด( Go-to-Market Strategy) การตลาดดิจิตอล แบบจ�ำลองธุรกิจใน อุตสาหกรรมไอซีที อุตสาหกรรมบริการสุขภาพ และการให้ค�ำปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรมองค์กรในภาคปฏิบัติ ปัจจุบันเป็นสมาชิกของ IAOIP และได้รับการ Certified Professional Innovator จากสถาบัน IAOIP ประเทศสหรัฐอเมริกา