Telecom & Innovation Journal 1041 | Page 11

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL IT Report
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL IT Report
11

สรุปได้ว่าในประเทศไทย 4.0 นั้น ประเทศไทยจะสามารถสร้างสรรค์ และ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และ ทรัพยากรอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน

มีแผนการพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 ใช้เวลา 20 ปี แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ใช้เวลา 18 เดือน โดยลงทุน และ สร้างฐานรากในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ระยะที่ 2 ใช้เวลา 5 ปี ให้ทุกภาคส่วนของ ประเทศไทยมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลตามแนวทางประชารัฐ ระยะที่ 3 ใช้เวลา10 ปี ให้ประเทศไทยขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จาก นวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ และ ระยะที่ 4 ใช้เวลาที่เหลือจน ครบ 20 ปี ให้ประเทศไทยได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ คุณค่าทางสังคมอย่างยั่งยืน

ในหัวข้อที่ 3

เรื่องการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะเร่ง ด่วนอย่างเป็นรูปธรรม มีโครงการต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1) โครงการ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมให้คนไทยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดได้เข้า ถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด( มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จ�ำกัด( มหาชน) ร่วมกันพัฒนาเคเบิ้ลใย แก้วน�ำแสงให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงทุกหมู่บ้านในประเทศไทย เพื่อใช้ในการศึกษาทางไกล แพทย์ทางไกล การขายสินค้าพื้นบ้าน การ ท่องเที่ยวชุมชน และ การเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้ ครอบคุม 30,000 หมู่บ้านภายใน กรกฎาคม 2560 2) โครงการฟรีไวไฟ( WiFi = Wireless Fidelity) รวมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และ โรงเรียน ตชด. จ�ำนวน 10,000 แห่ง 3) โครงการยกระดับศูนย์ ดิจิทัลชุมชน ช่วยให้เกิดชาวนาดิจิทัล( Smart Farmer) อีคอมเมิร์ชชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน บริการสาธารณะสุข และ บริการภาครัฐรูปแบบใหม่ รวม ทั้ง ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ มีโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยผ่านระบบ“ มูค( MOOC = Massive Open Online Course)” มี หลักสูตรระดับอุดมศึกษา 30 วิชา มีหลักสูตรส่งเสริมวิชาชีพอาชีวะ 12 สาขา ตามมาตรฐานอาเซียน มีการพัฒนาอาชีพผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ มีคลังความรู ้ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู ้ตลอดชีวิต มีระบบสื่อออนไลน์เพื่อการ

เรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติ และ มีระบบพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล เป็นต้น มีโครงการส่งเสริมการใช้ดิจิทัล อย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม มีโครงการเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ เส้นทางเศรษฐกิจ มีโครงการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลสู ่ภาคเศรษฐกิจเข้มแข็ง มีโครงการเมืองอัจฉริยะ( Smart City) อาทิ ที่ภูเก็ต เป็นต้น มีโครงการ พัฒนาช่องทางเข้าถึงข้อมูลของรัฐ มีการขับเคลื่อนการบูรณาการฐาน ข้อมูลภาครัฐ มีโครงการลดส�ำเนากระดาษเพื่อบริการประชาชนน�ำร่อง 7 กระทรวง

ในหัวข้อที่ 4

เรื่องการขับเคลื่อนและการเตรียมความพร้อมของประเทศสู ่ดิจิทัลไทยแลนด์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดท�ำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม จัดท�ำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาราย ยุทธศาสตร์ จัดท�ำแผนบูรณาการรายปี มีการจัดตัวชี้วัด มีการจัดสรร บุคลากร มีการจัดท�ำค�ำของบประมาณประจ�ำปี มีการด�ำเนินการตาม แผนปฏิบัติการ และ มีการติดตามประเมินผล เป็นต้น

ในด้านกฎหมาย มีการยกร่าง พ. ร. บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ. ร. บ. ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ มีการปรับปรุง พ. ร. บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

มีการเสริมสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้ระบบดิจิทัล ให้ผู ้บริโภคมั่นใจในการใช้บริการออนไลน์ มีการยกระดับธุรกิจในปัจจุบัน อาทิ ยกระดับมาตรฐานเชื่อมโยงข้อมูลปลอดภัย หาสินค้าง่าย และ ลดกระดาษ มีการปรับปรุงองค์กรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย คอมพิวเตอร์( CERT = Computer Emergency Response Team) จาก ที่เคยให้บริการแจ้งว่ามีการโจมตี โดยขยายเป็นการติดตามเก็บหลักฐาน การโจมตี และ ให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น

หวังว่าประเทศไทยจะประสพความส�ำเร็จในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมไทยเป็นประเทศไทย 4.0 ตามที่ประกาศไว้ทุกประการ

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: http:// www. freepik. com /