Bulletin 2017-2018 Bulletin 2017-2018 | Page 173

ในปีที่สองนักศึกษาจะได้เรียนวิชาการเขียนแผนธุรกิจและ นำาแผนธุรกิจดังกล่าวไปประกอบธุรกิจจริงในชั้นปีที่สาม ในวิชา Entrepreneurial Business Experience นอกจากนี้ สาขาวิชานี้ยังมี กิจกรรมเสริมตลอดหลักสูตรที ่หลากหลายที ่ช่วยเสริมความรู้และทักษะ ให้กับนักศึกษา เพื ่อให้นักศึกษาได้ตระหนักและมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ก่อนคนอื่น ทั้งในเรื่องของการสร้างธุรกิจใหม่และการพัฒนาธุรกิจให้ เจริญเติบโต
ความแตกต่างสำาคัญ และเป็นจุดเด่นของคณะการสร้างเจ้าของ ธุรกิจและการบริหารกิจการ คือ ผสมผสานการเรียนการสอน ควบคู่ไป กับการสร้างธุรกิจจริงของนักศึกษา เน้นวิชาการผสานแนบแน่กับการ ปฏิบัติ โดยทางคณะจะเน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติจากการเรียนการ สอนกันนักธุรกิจจริงที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำาเร็จเป็นที่ ยอมรับ
ภาควิชาการ จากการเตรียมความพร้อมให้ความรู้ที่จำาเป็นต่อ การเป็นเจ้าของธุรกิจ ตามด้วยการสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์การหาไอเดียในการทำาธุรกิจผ่านวิชาต่างๆ
ภาคปฏิบัติ เริ่มต้นจากวิชาเรียนในชั้นปีที่สาม ที่ให้นักศึกษา ออกไปทำาธุรกิจจริงเรียนรู ้จากประสบการณ์ในโลกธุรกิจโดยจะมีอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นนักธุรกิจ คอยให้คำาปรึกษา
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
• Entrepreneurship Club เป็นการจัดตั ้งชมรมการเป็นเจ้าของ ธุรกิจ เพื ่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที ่เกี ่ยวข้อง กับการพัฒนาความรู ้และทักษะทางด้านการเป็นเจ้าของธุรกิจ ตลอดถึง การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม
• Retail Fair เป็นการจัดงานออกร้านขายปลีกด้วยการนำาสินค้า มาขาย เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงกระบวนการในการทำาธุรกิจจริง
• Business Plan Competition เป็นการจัดประกวดแผนธุรกิจ ในระดับสถาบันและระดับประเทศ โดยร่วมมือกับสำานักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะในการเขียนแผนธุรกิจที่มี ความเป็นไปได้จริง
• Business Fair เป็นการนำาธุรกิจที ่นักศึกษาดำาเนินการจริงไป ออกงาน Fair เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและเรียนรู้การขายและการ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตน
• CEO Speaker เป็นการเชิญผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงมา เล่าประสบการณ์และข้อเสนอแนะกับนักศึกษาอย่างสมำ่าเสมอ เพื่อให้ นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการทำาธุรกิจ
• Seminar เป็นการสัมมนาซึ่งจะมีการจัดขึ้นทุกเดือนเพื่อให้ นักศึกษาได้มีการอัพเดทในองค์ความรู้ของสถานการณ์ธุรกิจเวลานั้นๆ โดยจัดให้มีการนำาเสนอของนักศึกษา และมีผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาให้ คำาแนะนำา รวมถึงมีการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และให้คำาปรึกษา แก่นักศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
• การทัศนศึกษาดูงานเพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้จาก การไปเยี่ยมชมสถานประกอบการและเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับ นักศึกษา
คุณสมบัติ​ของ​ผู้​เข้า​ศึกษา​และ​หลัก​เกณฑ์​การ​คัด​เลือก
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
1 . เป็นผู้สำาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ ( ปวช .) หรือประกาศนียบัตร อื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
2 . เป็นผู้สำาเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส .) ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ( ปวท .) หรือประกาศนียบัตรอื่น ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้เป็น ไปตามหลักการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี โดยพิจารณาเป็นรายกรณี
3 . ผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยกรุงเทพและระบบ การคัดเลือกของสำานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4 . นักศึกษาที ่ขอโอนจากสถาบันอื ่นตามระเบียบของสำานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาและตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่องการรับโอนนักศึกษาจากสถาบันอื่น
หลักสูตรปริญญาตรี 171