BU Present BU ALUMNI Most Distinguished Alumnus | Page 8

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรสร้างสรรค์ ที่ริเริ่มโดยภาควิชาการตลาด คือ Creative Entrepreneurial Marketing Project ( CEMP ) ที่จัดให้นักศึกษาแต่ละทีมช่วยกัน คิดคอนเซ็ฟต์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างแผนธุรกิจ และการตลาดที่สามารถต่อยอดไปเป็นธุรกิจจริงได้ภายในระยะ เวลาสั้น โดยมีการทำางานร่วมกับนักศึกษาคณะอื่น เช่น นักศึกษา ศิลปกรรมศาสตร์ ที่ช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะนิเทศศาสตร์ ที่ช่วยคิดคอนเซ็ฟต์โฆษณา นักศึกษาคณะบัญชี ในการทำาบัญชี ให้กับโปรเจ็กต์ ไปจนถึงนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ในการช่วยหา ทางคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ นักศึกษาโครงการ CEMP มีวางจำาหน่ายจริงในท้องตลาด และ บางแบรนด์ประสบความสำาเร็จถึงขั้นส่งออกต่างประเทศ อย่างเช่น ทุเรียนทอดหลากรสยี่ห้อคริสปีดู ที่ขายดิบขายดีอยู่ในประเทศจีน เป็นต้น
อีกเรื่องราวแห่งความสร้างสรรค์ที่ผมจะเล่า ... มาจาก วิทยาลัย นานาชาติ ( Bangkok University International College -BUIC ) ซึ่งมีนักศึกษาจากทั่วโลกกว่า 50 ประเทศ ... หนึ่งในนั้นคือ พีรกานต์ ศานติวรพงษ์ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และมัลติมีเดีย ผู้ชนะเลิศการประกวด “ สิ่งมีชีวิต ” ( Spore Creature Creator ) ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ในปี 2551 ! ที่น่าสนใจก็คือ เขาไม่ได้เป็น “ เด็กเรียน ” มาตั้งแต่ต้น แต่เป็นเด็กที่ มีความคิดสร้างสรรค์ ! เราเลยได้มอบ “ ทุน BU Creative ” ซึ่งมีไว้เพื่อ นักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์โดดเด่นให้แก่เขา ตัวอย่างนี้ ชี้ให้เราเห็นว่าเมื่อนักศึกษาได้จับในสิ่งที่เขารักและสนใจ เขาก็ ย่อมที่จะทำามันได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นเด็กที่เก่ง ในการเรียนก็ตาม !
“ ความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ที่สามารถตอบโจทย์ของโลก … ต่อยอดไปเป็นนวัตกรรมแล้วต่อท่อ ไปสู่โลกธุรกิจนั้น … อาจจะเกิดได้ยาก … หากเราขาดสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ ( Creative Environment )”
ทางด้านนี้ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ( Product Design ) และ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ( Fashion and Textile Design ) คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ สาขาวิชาธุรกิจ การบิน ( Airline Business Management ) คณะมนุษยศาสตร์ และสาขาวิชาภาพยนตร์ ซึ่งได้กล่าวถึงในตอนต้นไปแล้ว
นอกจากนี้ยังจะมีคณะน้องใหม่ที่น่าจับตามอง เพราะตรงกับจุดยืน ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสถาปนิกและนักออกแบบสู่เวทีนานาชาติ
และสุดท้าย … คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ( BUSEM ) ซึ่งเป็นเสาหลักอีกอันหนึ่งที่จะมาเสริมภาพรวมของ มหาวิทยาลัย กล่าวได้ว่าเป็นการปักธงตามความตั้งใจเดิมของ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างบุคลากรให้แก่ ภาคธุรกิจ โดยมหาวิทยาลัยได้สร้างหลักสูตรร่วมกับ Babson College สหรัฐอเมริกา สถาบันอันดับหนึ่งของโลกมาตลอด 19 ปี ในสาขาเจ้าของกิจการ ( Entrepreneurship ) เจ้าของ ธุรกิจระดับโลกหลายท่านเป็นศิษย์เก่าจากที่นั่น รวมทั้งผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัย คือคุณพ่อของผมเอง ซึ่งเคยเป็นนักศึกษาไทย คนแรกที่ไปเรียนที่ Babson ทำาให้เรามั่นใจได้ว่า หลักสูตรของเรา จะเป็นหลักสูตรการเป็นเจ้าของกิจการที่ดีที่สุดในประเทศไทย และในอาเซียนอย่างแน่นอน !
การเป็นผู้ประกอบการ ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาทุกคนจะ ต้องก้าวไปเป็นเจ้าของกิจการเสมอไป แต่ต้องมีความรู้สึกและ หัวใจแบบเจ้าของ หรือเรียกว่า “ จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ ” ( Entrepreneurial Spirit ) ซึ่งเราอยากที่จะบ่มเพาะให้เบ่งบาน และเป็นอีกด้านหนึ่งของอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และของ นักศึกษาทุกคนในอนาคตอันใกล้ด้วย
มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์แห่งนี้มีหลักสูตรและภาควิชาใหม่ๆ ที่ น่าสนใจ ซึ่งได้เกิดขึ้นภายใน 10 ปีที่ผ่านมา อาทิ Multimedia and Internet คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในประเทศ
แต่ความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ที่สามารถตอบโจทย์ของโลก … ต่อยอด ไปเป็นนวัตกรรม แล้วต่อท่อไปสู่โลกธุรกิจนั้น … อาจจะเกิดได้ยาก … หากเราขาด สิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ ( Creative Environment ) ในมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์แห่งนี้ เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ ทันสมัย ( Facilities ) และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีเพื่อเอื้ออำานวยให้ ความคิดสร้างสรรค์ของทุกคนในรั้วมหาวิทยาลัยพุ่งกระฉูด ! อาทิ หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งองค์ความรู้ ที่ทันสมัยขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบข้อมูลที่เป็นหนังสือตำารา และ ฐานข้อมูลออนไลน์จากทั่วทุกมุมโลก สำาหรับใช้ในการค้นคว้าวิจัย