B Connectmag Issue 11 e-Mag-B-Connect-11 | Page 37
ทั ง ้ นี้ ผู บ ้ ริโภคสามารถช�ำระเงินด้วย Bitcoin ได้ส ง ู ถึง 100,000 เยน
หรือประมาณ 31,145 บาท ผ่านระบบ Cryptocurrency และ
แน่นอนว่าจะได้รับคะแนนสะสมในการซื้อของเหมือนกับเงินสด
ทุ ก ประการ ขณะเดีย วกันยังสามารถใช้บ ริการหักเงิน จากบัญช
Bitcoin โดยตรง เพราะมีระบบ Coincheck ที่จะเปลี่ยนสกุลเงิน
Bitcoin เป็ น สกุ ล เงิ น เยนของญี่ ปุ ่ น และโอนเงิ น ไปยั ง ร้ า นนั้ น ๆ
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การช�ำระเงินโดย Bitcoin ที่หักโดยตรงจาก
บัญชี สามารถใช้ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และยังสามารถ
ใช้ร่วมกับบริการของ Alipay ได้ด้วย เพื่อเอื้อต่อนักท่องเที่ยวจีน
ส่วนใหญ่ที่เดินทางมาญี่ปุ่น
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าเครื่องช�ำระเงินผ่าน Bitcoin จะตั้ง
อยู่ในร้านอาหารของญี่ปุ่นถึง 260,000 แห่งในช่วงฤดูร้อนปีน
ส่วนในขณะนี้เริ่มทยอยตั้งตามร้านต่างๆ โดยเฉพาะร้านอาหาร
โดยในปัจจุบันมีร้านค้าประมาณ 4,500 แห่งในญี่ปุ่นที่รับ Bitcoin
ซึ่งตรงนี้จะเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รวมถึง
การกระตุ้นให้จ�ำนวนผู้ใช้ Bitcoin ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่า
หากญี่ปุ่นท�ำเรื่องนี้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็จะส่งผลดีต่อนักท่องเที่ยว
จากฝั่งตะวันตกด้วยที่จะสามารถเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นและช�ำระ
เงินได้โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินอีกเลย
กลโกงที่มาพร้อมกับความมั่งคั่ง (จอมปลอม)
อย่ า งไรก็ ต าม หากพิ จ ารณาจากข้ อ มู ล ข้ า งต้ น ดู จ ะสร้ า ง
ความเย้ายวนใจส�ำหรับการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น
“Bitcoin” หรือสกุลชื่อแปลกๆ ใหม่ๆ ไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้ก็อย่าง
ที่ ก ล่ า วไปแล้ว ว่าความผันผวนของเงินดิจิทัลคือเรื่องหนึ่งที่ต้อง
ตระหนัก
ทว่ายังมีอีกส่วนที่ต้องระวังอย่างยิ่งแก่คนที่อยากกระโดดเข้ามา
ร่วมแจมกับความมั่งคั่งใหม่นี้ โดยเฉพาะเรื่องของกลโกงต่างๆ ที่พูด
เช่นนี้ เพราะในปัจจุบัน ตามโซเชียลเน็ตเวิร์กและเว็บบอร์ดต่างๆ
มี “นักลงทุนเงินดิจิทัล” ออกมาโพสต์ถ่ายทอดความร�่ำรวยที่ได้จาก
การลงทุน จนหลายๆ คนที่ไม่เคยรู้จักนึกสนใจอยากรวยแบบนี้บ้าง
แน่นอนว่า ด้วยราคาของ Coin ประเภทต่างๆ ถูกหยิบมาเป็น
โมเดลขายฝันที่ถูกผู้ที่ตั้งตัวเป็น “ผู้หวังดี” ชักชวนคนอื่นมาลงทุน
แบบแบ่งกันรวย ซึ่งคนกลุ่มนี้จะปั้นตัวเองขึ้นมาใหม่หรือเรียกว่าเพิ่ง
ตั้งไข่ในวงการเงินดิจิทัลแบบที่ลองไปค้นข้อมูลกันลึกๆ แล้วแทบจะ
ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก
คนกลุ ่ ม นี้ จ ะชั ก ชวนคุ ณ มาลงทุ น ในเงิ น ดิ จิ ทั ล ของเขาเอง
ซึ่งจะท�ำการเชิญชวนผ่านหลายช่องทาง ทั้งการชวนเพื่อนฝูงญาติพ
น้อง การชวนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ แม้แต่รูปแบบของการเปิด
สัมมนาตามสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงแรม ส�ำนักงานหรู โดยมีวิทยากรท
ดูน่าเชื่อถือคอยมาโน้มน้าว
แต่สุดท้าย ถ้าได้ศึกษาหาความรู้ไว้เบื้องต้น และตั้งสติในการ
ไตร่ตรองดูก็จะพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งหลายแท้จริงแล้ว อาจจะ
เป็น “มิจฉาชีพ” ที่มาเปิดประตูออกล่าเหยื่อ ซึ่งทุกคนทุกฐานะ
ก็ล้วนมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อได้ ไม่ใช่จ�ำกัดว่าต้องเป็นระดับนักลงทุน
ฟินแลนด์ที่โดนนายแบบชื่อดัง บูม-จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต ตุ๋นเงินกว่า
700 ล้านบาทอย่างที่โด่งดังไปก่อนหน้านี้เท่านั้น
เพราะกลโกงของคนเหล่านี้ จะมีตั้งแต่การใช้หลักการเดียวกัน
กั บ แชร์ ลู ก โซ่ ม าหลอกลวง แต่ อ ้ า งว่ า เป็ น การลงทุ น เงิ น ดิ จิ ทั ล
ให้ดูน่าเชื่อถือ ก็คือ เปิดให้มาร่วมลงทุนเพื่อผลตอบแทนสูงๆ ยิ่งถ้า
ชักชวนคนมาเข้าร่วมได้มากก็จะมีผลตอบแทนเพิ่ม เดือนแรกๆ ก็ได
เงินปันผลสูงตามสัญญา ยั่วยวนใจให้หาเงินมาลงทุนเพิ่ม พอผ่านไป
สักพักก็หายเข้ากลีบเมฆ ซึ่งกรณีล่าสุดที่ถูกต�ำรวจจับได้ความเสีย
หายก็ระดับร้อยล้านบาท ผู้เสียหายกว่า 50 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ม
ความรู้เรื่องธุรกิจและเงินดิจิทัลมาก่อน
อีกวิธ ค ี อ ื ใช้คนที ม ่ ช ี อ ื่ เสียงมาชักจูงโดยมุ ง ่ ไปหาคนที ม ่ ก ี ระเป๋าหนัก
ซึ่งอาจจะมีความรู้ด้านธุรกิจบ้าง แต่ “ไม่เท่าทันโจร” ที่อาศัยความ
ซับซ้อนของเทคโนโลยีในส่วนนี้ และอาศัยเครดิตดั้งเดิมมาหลอกล่อ
โชว์แผนธุรกิจที่น่าเชื่อถือ แต่จริงๆ ก็คือการโกงกันนั่นเอง ฉะนั้น
จึ ง ต้ อ งบอกกั บ ทุ ก ผู ้ ค นที่ ส นใจไว้ ด ้ ว ยประโยคคลาสสิ ค เลยว่ า
“การลงทุ น มี ค วามเสี่ ย ง ผู ้ ล งทุ น ควรศึ ก ษาข้ อ มู ล ก่ อ นตั ด สิ น ใจ
ลงทุน”
ธปท.แจง ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนก้าวสู่สนามคริปโต
อย่างไรก็ตาม เรื่องของความมั่งคั่งไม่เข้าใครออกใคร แต่อย่าง
น้อยๆ ก่อนจะลงทุนอะไร ก็ต้องดูทิศทางลมของประเทศที่เราไป
ลงทุนกันก่อน อย่างในบ้านเราเอง ก่อนหน้านี้ ทาง ธปท.แจงความ
เข้าใจผิด 3 ประการ โดย วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“ถ้าพูดถึง Cryptocurrency หรือเงินคริปโต ผมคิดว่าขณะน
เรายังมีความเข้าใจผิดอย่างน้อย 3 ประเด็นส�ำคัญที่อันตรายมาก
ประเด็นที่ 1 เข้าใจผิดว่า “Cryptocurrency” เป็น “สกุลเงิน”
เพราะถ้าดูเผินๆ อาจเข้าใจว่าเป็น “เงิน” หรือ “สกุลเงินใหม่”
แต่แท้จริงแล้ว “Cryptocurrency” ขาดคุณสมบัติที่ส�ำคัญของเงิน
อย่างน้อย 2 ข้อ
1.ไม่ได้เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการช�ำระเงินในวงกว้าง วันนี้อาจม
บางร้านค้ารับคริปโต แต่ต้องใช้เวลานานในการยืนยันรายการ และ
การโอนกระเป๋าเงินดิจิทัลจากกระเป๋าหนึ่งสู่อีกกระเป๋ามีค่าใช้จ่าย
สูง Cryptocurrency จึงมักถูกใช้ส�ำหรับธุรกรรมที่ผิดกฎหมายหรือ
ธุรกรรมฟอกเงิน ที่ต้องการหลบเลี่ยงการตรวจสอบของภาครัฐ
B-CONNECT MAGAZINE
35